วิธีการใช้แรงประแจวัดแรงบิด แบรนด์ Tohnichi

วิธีใช้แรงขัน・การคลาย・การขันสกรูเกลียวซ้าย

การอธิบายถึง “วิธีใช้แรง” ที่สำคัญเมื่อใช้ประแจวัดแรงบิดหรือประแจปอนด์ Tohnichi นอกจากนี้ยังอธิบายวิธีการคลายและการขันสกรูเกลียวซ้าย

วิธีการใช้แรง

ค่าแรงบิดคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้จากตำแหน่งที่ออกแรง

  1. ประแจวัดแรงบิดแบบบีม (Beam type) ค่าแรงบิดจะเปลี่ยนตามเข็ม (pin) ตรงกึ่งกลางของด้ามจับ
  2. ประแจวัดแรงบิดแบบหน้าปัดเข็ม (Dial type) ตำแหน่งที่ใช้แรงมีผลเพียงเล็กน้อย
  3. ประแจวัดแรงบิดแบบคลิก (Click type) แรงบิดจะเปลี่ยนไปตามตำแหน่งที่จับ ดังนั้น การจับตรงกึ่งกลางของเส้นความยาวของด้ามจับจะมีประสิทธิภาพ

การใช้ประแจวัดแรงบิดกับด้ามต่อ

  1. อย่าเพิ่มส่วนขยายที่ด้ามจับ (อาจเป็นอันตรายที่สเกลได้จะทำให้ระบุแรงบิดไม่ถูกต้อง)
  2. แรงบิดสามารถคำนวณได้โดยการเชื่อมต่อกับหัว

ทิศทางของแรง

  1. ประเภทการคลิก (รุ่น QL, รุ่น SP) ออกแบบมาให้ใช้ในทิศทางที่ระบุสัญลักษณ์
  2. บนประแจวัดแรงบิดในแต่ละตัวเท่านั้น ในขณะที่ประแจวัดแรงบิด รุ่น BQSP และรุ่น BCSP สามารถใช้ได้ทั้งสองทิศทาง

  3. ทิศทางของแรงควรอยู่ที่มุมฉากกับประแจวัดแรงบิด (ค่าเผื่อมุมควรอยู่ภายใน ±15°)

วิธีการใช้แรง

  1. ออกแรงสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้เกิดการเคลื่อนที่ของวัตถุ
  2. เมื่อใช้ประแจวัดแรงบิดแบบคลิก (รุ่น QL, รุ่น SP, ฯลฯ ) ให้หยุดทันทีเมื่อคุณรู้สึกว่า “คลิก”

ประแจวัดแรงบิดและการคลาย

เมื่อคุณคลายโบลท์ด้วยประแจวัดแรงบิดต้องระมัดระวังอย่าทำให้ประแจได้รับอันตรายจนเกิดความเสียหาบ เนื่องจากประแจวัดแรงบิดมีความยาวกว่าประแจปากตาย และยิ่งหากคุณเปลี่ยนทิศทางของด้ามฟรี แนะนำให้ตรวจสอบการทำงานของด้ามฟรีให้ถูกต้องก่อนใช้งาน เพราะการใส่ด้ามฟรีทิศทางที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้เครื่องมือเสียดายได้

ข้อควรระวังสำหรับประแจวัดแรงบิดแบบปากตาย (SP type)

ใส่น็อตเข้าไปในปากประแจวัดแรงบิด SP ให้สุด

ในกรณีที่คุณไม่ใส่น็อตเข้าไปจนสุดความลึกของปากประแจวัดแรงบิด SP จะทำให้ค่าแรงบิดที่ได้ไม่ถูกนำไปใช้ เนื่องจากการเปลี่ยนความยาวมีผลความผิดพลาดและทำให้ประแจเสียหาย

ห้ามลับปากประแจเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางซึ่งเป็นสิ่งที่อันตราย
หากต้องการปากประแจรูปทรงพิเศษโปรดติดต่อ Tohnichi

การขันเกลียวซ้ายมือ

ประแจวัดแรงบิดแบบด้ามฟรี (Ratchet type)

เริ่มจากการถอดสกรูที่ครอบหัวประแจออกและหลังจากนั้นพลิกหัวด้ามฟรีและประกอบกลับเข้าไป

หากคุณต้องใช้ขันทั้งตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกาในการขันครั้งเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องใช้ประแจสองตัว เมื่อใช้ด้ามฟรีคุณสามารถขันได้ทั้งสองรอบในประแจอันเดียว (รุ่น DQL/ รุ่น DQLE2)

ประแจวัดแรงบิดแบบปากตาย (Spanner type)

ใช้งานโดยการพลิกด้านประแจวัดแรงบิด

TOHNICHI