
ทำไมสกรูถึงยึดแน่น?
เมื่อคุณเริ่มทำการขันสกรูแล้วตรงหัวสกรูจะหมุนไปทางด้านข้างทิศทางตามเข็มนาฬิกา และตัวสกรูจะค่อยๆ เลื่อนลงเข้าไปในรู หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่ากลไกของสกรูเป็นการแปลงการเคลื่อนที่แบบหมุนเป็นวงกลมในขณะที่แรงต้านทานเคลื่อนที่ลงในแนวดิ่ง
กลไกของสกรู
เมื่อลองหนีบแผ่นกระดาษหลายๆ แผ่นด้วยคลิปหนีบกระดาษ!
แหละนี่คือการยึดแน่นที่มีลักษณะคล้ายกับสกรูที่ถูกขันแน่น โดยคลิปหนีบกระดาษมีลักษณะเป็นวงรีสองวงซ้อนกัน ซึ่งจะเห็นว่าวงหนึ่งอยู่ด้านในและอีกวงอยู่ด้านนอก และคลิปหนีบกระดาษจะมีแรงดึงกลับคืนตำแหน่งเดิม ทำให้สามารถหนีบกระดาษให้ยึดรวมอยู่ด้วยกัน
กลไกการทำงานของคลิปหนีบกระดาษ
สกรูจะยึดแน่นได้ด้วยแรงดึงเช่นเดียวกัน
กลไกการทำงานของสกรู
สกรูสามารถยืดออกได้หรือไม่?
โปรดจำไว้ว่าในความเป็นจริงแล้วถึงเราจะไม่สามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตาเปล่า แต่ว่าสกรูก็ยังสามารถยืดและหดได้อยู่ดี
ยกตัวอย่างของคลิปหนีบกระดาษในแต่ละแบบ
เมื่อใช้หนีบกระดาษ 5 แผ่น
เมื่อคุณใช้คลิปหนีบกระดาษ 5 แผ่นในครั้งแรก และคุณทำการดึงคลิปหนีบออกหลังจากใช้หนีบกระดาษแล้วก็ตาม ตัวคลิปหนีบกระดาษก็ยังสามารถคคืนกลับเป็นสภาพเดิมได้ เนื่องจากการหนีบกระดาษในครั้งแรกไม่หนาเกินกำลังของคลิปหนีบ
เมื่อใช้หนีบกระดาษ 20 แผ่น
เมื่อคุณใช้คลิปหนีบกระดาษ 20 แผ่น คุณจะเห็นว่าคลิปหนีบกระดาษเกิดการง้างขึ้นเล็กน้อยและไม่คืนตัวกลับสภาพสมบูรณ์เหมือนเดิม เนื่องจากใช้หนีบเกินระยะการคืนตัวของคลิปหนีบ
เมื่อใช้หนีบกระดาษ 50 แผ่น
เมื่อคุณใช้คลิปหนีบกระดาษที่ 50 แผ่น คุณจะเห็นว่าสภาพของคลิปหนีบกระดาษมีลักษณะง้างขึ้นกว้างกว่าเดิมจนไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิม และทำให้แรงยึดของคลิปหนีบหายไป นี่ก็คือสถานะ “เหล็กยืด”
หากขันสกรูแน่นเกินไป…
หากคุณขันสกรูให้แน่นด้วยแรงที่เกินระยะการคืนตัวจะทำให้สกรูยืดออกและไม่คืนตัว ซึ่งกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าสกรูที่ควรยึดแน่นอาจจะคลายตัวหรือหลุดออกได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว!