เริ่มช้อปดีมีคืน 2568 (Easy E-Receipt 2.0) ได้แล้ววันนี้ที่ Monet

ช้อปดีมีคืน หรือ Easy E-Receipt เรียกได้ว่าเป็นมาตรการที่ส่งเสริมเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย และลดหย่อยภาษีจากภาครัฐที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปี 2568 นี้ ทางรัฐบาลได้เคาะมาตรการนี้กลับมาอีกครั้งเพื่อช่วยกระตุ้นการใช้งาน ทั้งยังเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้เสียภาษีด้วยการสามารถนำการช้อปปิ้งสินค้านี้มาลดหย่อนภาษี และบริการที่กำหนดภายใต้ชื่อ Easy E-Receipt 2.0 สำหรับผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 50,000 บาท โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ วงเงินส่วนแรกสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และส่วนที่สองสูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท ในส่วนของการซื้อสินค้าหรือบริการจาก OTOP วิสาหกิจชุมชน หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยทั้ง 2 ส่วนนี้ต้องมี e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เป็นหลักฐาน

ช้อปดีมีคืน Easy E-Receipt 2568 คืออะไร?

มาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” เป็นมาตรการที่ขยายผลมาจากมาตรการเดิมเมื่อปี 2567 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศไทย และมาสานต่อในปี 2568 โดยให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล มาจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการตามเงื่อนไขที่ได้จ่ายจริง ได้สูงสุดถึง 50,000 บาท ด้วยการนำ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt มาลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2568 ได้

ช้อปดีมีคืน Easy E-Receipt 2568 เริ่มวันไหนและหมดเขตเมื่อไหร่?

ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่ใช้ในช่วงวันที่ 16 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568 มาลดหย่อนภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริงได้สูงสุดถึง 50,000 บาท โดยต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax Invoice) หรือ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (E-Receipt) และต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด

ช้อปดีมีคืน Easy E-Receipt 2568 มีเงื่อนไขอะไรบ้างที่ควรรู้?

สำหรับผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะสามารถนำค่าการซื้อสินค้าและบริการมาหักลดหย่อนภาษีในประเทศได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท โดยแบ่งเป็นวงเงินลดหย่อน 2 ส่วน ดังนี้

  • เงื่อนไขที่ 1 หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
  • สำหรับค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องมีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax Invoice) แบบเต็มรูปเป็นหลักฐาน หรือผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องมีใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (E-Receipt) เป็นหลักฐาน

  • เงื่อนไขที่ 2 หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท
  • สำหรับค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ดังต่อไปนี้

    1. ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
    2. ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการจากวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
    3. ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการจากวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ

หมวดหมู่สินค้ายอดนิยม

เครื่องเขียน(Stationary)

เครื่องมือช่าง (Hand Tool)

สำนักงานอัตโนมัติ (Tool Set)

อุปกรณ์ครัว (Cookware)

อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง (Camping Equipment)