ประแจวัดแรงบิดคืออะไร

ประแจวัดแรงบิด ประแจทอร์ค หรือประแจปอนด์ เป็นเครื่องมือที่มีควาแม่นยำ ซึ่งสามารถกำหนดหรือวัดค่าแรงบิดหรือแรงขันที่เหมาะสมกับชิ้นงานของคุณได้ และประแจวัดแรงบิดไม่สามารถตรวจวัดค่าแรงบิดของโบลท์และน็อตที่ขันแน่นอยู่แล้วได้ หน่วยวัดของแรงบิด คือ N·m (นิวตันเมตร)

ประเภทของประแจวัดแรงบิด

ประแจวัดแรงบิดมี 2 ประเภท คือ ประเภทอ่านค่าและประเภทคลิก

ประเภทอ่านค่าแบบโดยตรงอาจมีข้อเสียในเรื่องของความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งและมุมที่อ่านค่าตัวเลขบนสเกลวัด และสำหรับประเภทสัญญาณเตือนก็จะมีข้อเสียตรงที่หากมีผู้ใช้งานหลายคนก็จะตั้งค่าแรงบิดที่แตกต่างกันไป แต่สัญญาณก็จะแจ้งเตือนเหมือนเดิมเมื่อถึงค่าแรงบิดที่ตั้งไว้

ดังนั้น จึงได้พัฒนาเป็นประแจวัดแรงบิดแบบดิจิตอลขึ้นมาด้วยการนำข้อดีทั้งประเภทอ่านค่าโดยตรงและประเภทสัญญาณเตือนมาไว้ด้วยกัน ซึ่งสามารถอ่านค่าได้จากหน้าจอแสดงผลและแจ้งเตือนด้วยเสียงละแสง

ประเภทอ่านค่าโดยตรง

ประแจวัดแรงบิดจะแสดงค่าแรงบิดที่แท้จริงขณะใช้งาน เช่น อ่านค่าแรงบิดได้จากสเกลวัดหรือจอแสดงผล

ข้อเสีย
ตำแหน่งและมุมที่อ่านค่าอาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้

ประเภทสัญญาณเตือน

ประแจวัดแรงบิดจะแจ้งเตือนคุณด้วยเสียงหรือการสั่นสะเทือนเมื่อเกินค่าแรงบิดที่ตั้งไว้

ข้อเสีย
หากมีผู้ใช้หลายคนก็อาจจะเกิดการเปลี่ยนค่าแรงบิดที่ตั้งไว้แตกต่างกันไป

เริ่มต้นด้วยประแจวัดแรงบิดแบบดิจิตอลกัน!

อุปกรณ์ตรวจจับอัจฉริยะ TORQULE

สำหรับติดตั้งกับเครื่องมือของคุณได้ทันที

ประแจวัดแรงบิดดิจิตอล

มาพร้อมกับฟังก์ชั่นวัดแรงบิดและจอแสดงผล

อุปกรณ์วัดแรงบิดแบบติดตั้งกับเครื่องมือ

เพียงแค่ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับอัจฉริยะ TORQULE เข้ากับเครื่องมือของคุณ คุณก็สามารถเปลี่ยนจากประแจบล็อกธรรมดาเป็นประแจวัดแรงบิดแบบดิจิตอลที่มีความแม่นยำสูงได้ทันที คุณสามารถใช้กับประแจบล็อกได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็นด้ามยาวหรือด้ามงอ

Torqule

Torqule

Torqule

การใช้งานที่ถูกต้อง

  1. เปิดอุปกรณ์ TORQULE และเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชัน “TRASAS Admin” * บนสมาร์ทโฟน
  2. ติดตั้งด้ามจับและลูกบล็อกเข้ากับอุปกรณ์ TORQULE แล้วค่อยๆ ขันให้แน่น
  3. เมื่อถึงค่าแรงบิดที่ตั้งไว้จะได้มีเสียงแจ้งเตือน “ปิ๊งป่อง♪” พร้อมกับหน้าจอจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว
  4. หลังจากขันแน่นเสร็จเรียบร้อยแล้วสามารถเอาเครื่องมือออกจากหัวโบลท์หรือน็อตได้

※หากคุณได้ยินเสียงบี๊บแล้วแสดงว่าคุณขันแน่นถึงค่าแรงบิดที่ตั้งไว้แล้ว หรือหากเกินค่าให้คุณคลายโบลท์และน็อตแล้วขันให้แน่นอีกครั้ง

การใช้งานที่ไม่ถูกต้อง

  • การออกแรงขันมากเกินไป
  • หากออกแรงขันมากเกินไปหรือขันแรงเกินความจำเป็นจะทำให้ไม่สามารถวัดค่าแรงบิดที่ถูกต้องได้

  • การขันแน่นซ้ำๆ
  • โบลท์และน็อตที่ขันแน่นแล้วจะไม่สามารถวัดค่าแรงบิดได้แล้ว

ประแจวัดแรงบิดแบบดิจิตอล

ประแจวัดแรงบิดแบบดิจิตอลสามารถแจ้งค่าแรงบิดให้คุณทราบพร้อมกับแสงและเสียงเตือน โดยประแจวัดแรงบิดดิจิตอลจะมาพร้อมกับหน้าจอแสดงผลที่ทำให้คุณสามารถทราบค่าแรงบิดที่แท้จริงขณะใช้งานได้ทันที อย่างไรก็ตาม รูปทรงของเครื่องมือไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ดังนั้น จึงต้องใช้งานในแต่ละสถานที่ให้ถูกต้อง

Digi-Rache เครื่องมือแรงบิดดิจิตอล 9.5sq. Torque 12 to 60

การใช้งานที่ถูกต้อง

  1. วางประแจวัดแรงบิดดิจิตอลบนพื้นเรียบแล้วเปิดเครื่อง *เนื่องจากตรวจพบว่าหากเปิดเครื่องในขณะที่ถืออยู่ในมือจะทำให้การวัดค่าที่ไม่ถูกต้อง
  2. ค่อยๆ ขันให้แน่น
  3. เมื่อถึงค่าแรงบิดที่ตั้งค่าไว้จะมีไฟสีแดงสว่างขึ้นและเสียงบี๊บแจ้งเตือนขึ้นมา หลังจากนั้นให้คลายแรงขันออก
  4. ขันแน่นเสร็จแล้วก็สามารถถอดประแจวัดแรงบิดออกจากหัวโบลต์และน็อตได้ทันที

วิธีตั้งค่าประแจวัดแรงบิดแบบดิจิตอล

ประแจวัดแรงบิดดิจิตอล ประกอบอยู่ด้วยกัน 2 โหมด ได้แก่ “โหมดการวัด” คุณสามารถตรวจสอบค่าแรงบิดในขณะใช้งานได้โดยไม่ต้องค่าแรงบิดเป้าหมาย และ “โหมดตั้งค่าล่วงหน้า” คุณสามารถตั้งค่าแรงบิดเป้าหมายล่วงหน้าได้

การใช้งานที่ไม่ถูกต้อง

หากใช้งานในลักษณะดังต่อไปนี้โดยไม่ระมัดระวังอาจทำให้การวัดค่าแรงบิดเกิดความผิดพลาดได้

  • มือจับด้ามขันผิดตำแหน่ง
  • วางนิ้วจับบนด้ามขันผิดตำแหน่ง
  • ขันแรงเกินไป

วิธีการเลือกประแจวัดแรงบิด

ประแจวัดแรงบิดแต่ละประเภทมีฟังก์ชั่นและลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงต้องเลือกประแจวัดแรงบิดที่มีฟังก์ชั่นหมาะกับวัตถุประสงค์การใช้งานของคุณให้มากที่สุด

  1. ยืนยันค่าแรงบิดของงานที่จำเป็นต้องใช้งาน
  2. เลือกประแจวัดค่าแรงบิดที่มีช่วงค่าแรงบิดที่เหมาะกับการใช้งานของคุณ
KYOTO TOOL (KTC) ประแจวัดแรงบิดแบบดิจิตอล (Digital Torque Wrench)